ภาพบรรยากาศ หลักสูตรติดอาวุธให้เจ้าของกิจการ Day2 บริษัท แฮค แล็บ จำกัด กรุงเทพมหานคร

ภาพบรรยากาศ หลักสูตรติดอาวุธให้เจ้าของกิจการ Day2 บริษัท แฮค แล็บ จำกัด กรุงเทพมหานคร

ภาพบรรยากาศ หลักสูตรติดอาวุธให้เจ้าของกิจการ Day2
บริษัท แฮค แล็บ จำกัด กรุงเทพมหานคร

ภาพบรรยากาศ หลักสูตรติดอาวุธให้เจ้าของกิจการ Day2 บริษัท แฮค แล็บ จำกัด กรุงเทพมหานคร ภาพบรรยากาศ หลักสูตรติดอาวุธให้เจ้าของกิจการ Day2 บริษัท แฮค แล็บ จำกัด กรุงเทพมหานคร ภาพบรรยากาศ หลักสูตรติดอาวุธให้เจ้าของกิจการ Day2 บริษัท แฮค แล็บ จำกัด กรุงเทพมหานคร ภาพบรรยากาศ หลักสูตรติดอาวุธให้เจ้าของกิจการ Day2 บริษัท แฮค แล็บ จำกัด กรุงเทพมหานคร ภาพบรรยากาศ หลักสูตรติดอาวุธให้เจ้าของกิจการ Day2 บริษัท แฮค แล็บ จำกัด กรุงเทพมหานคร ภาพบรรยากาศ หลักสูตรติดอาวุธให้เจ้าของกิจการ Day2 บริษัท แฮค แล็บ จำกัด กรุงเทพมหานคร

5 ข้อดีของการทำ Team Building

Team Building

5 ข้อดีของการทำ Team Building

การทำ Team Building เป็นกิจกรรมที่มุ่งเสริมความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างสมาชิกในทีม เพื่อสร้างบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น มี 5 ข้อดีสำคัญที่มาพร้อมกับกิจกรรม

1. ลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างกันในการทำงาน
แก้ปัญหาเรื่องสังคมเป็นพิษ ระบบพวกพ้อง แม้กระทั่งการมองคนละมุมจิตวิทยาบางอย่างทำให้เกิด Conflict หรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกันในแต่ละฝ่าย ทำให้บุคลากรในองค์กรมีโอกาสได้เปิดใจกันมากขึ้น
2. ได้เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารผ่านกิจกรรม
ระหว่างผู้บริหารและทีมงาน เพราะกิจกรรมทำเรามีโอกาสได้สลับปรับเปลี่ยนตำแหน่ง เพื่อเพิ่มทักษะและแสดงศักยภาพ บางคนเราจะเห็นได้ว่ามีความเป็นผู้นำซ่อนอยู่และได้โชว์ศักยภาพนนั้นออกมา
3.ได้ความชัดเจนในกลยุทธ์และเป้าหมายต่างๆ
ที่จัดเตรียมไว้จะถูกเผยแพร่ผ่านกิจกกรรมนี้ เป็นโอกาสที่หัวหน้าจะได้แจ้งเป้าหมายสำคัญให้กับทีมได้ทราบ และกำหนดเป้าหมายใหม่ไปด้วยกัน
4. ได้สร้างทีมในฝันได้เปิดใจ รับรู้ รับฟัง และเข้าใจปัญหาและความต้องการของทีม
5. ความสนุกสนาน
Team Building บรรยากาศโล้ดโพ้นผ่านการบรรยายของวิทยากรได้สร้างสีสันให้เกิดมิติใหม่ๆ และผ่อนคลายในมิติอื่นๆ นอกเหนือจากทำงาน
สรุป : กิจกรรมนี้เองที่ทำให้พฤติกรรมองค์กร จะต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงและพนักงานได้รับประโยชน์สูงสุดผ่านกิจกรรมที่เราเรียกว่า Team Building

ที่ปรึกษาปัญหาธุรกิจ คือใคร ทำหน้าที่อะไร สำคัญไหม ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

ที่ปรึกษาปัญหาธุรกิจ คือใคร ทำหน้าที่อะไร สำคัญไหม ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย หากไม่มีความรู้ขาดประสบการณ์โอกาสในการเติบโตยากด้วยเหตุนี้จำเป็นต้องมี ที่ปรึกษาปัญหาธุรกิจคอยให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ว่าแต่ ปรึกษาปัญหาธุรกิจคือใคร ทำหน้าที่อย่างไรและจำเป็นหรือไม่ ที่ปรึกษาปัญหาธุรกิจ ที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง เราจะพามาหาคำตอบกัน

ที่ปรึกษาปัญหาธุรกิจคืออะไร ทำหน้าที่อย่างไร

ที่ปรึกษาทางธุรกิจหรือ Business Consultant คือ ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน คอยให้คำปรึกษาด้านการทำธุรกิจเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทำหน้าที่ช่วยเหลือธุรกิจ ช่วยแก้ปัญหาหรือมองหาโอกาสใหม่ๆ โดยมีเป้าหมายคือช่วยผลักดันองค์กรพัฒนาให้องค์กรเติบโตไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ทำไมต้องมีที่ปรึกษาทางธุรกิจ

การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะมือใหม่ที่ยังขาดความรู้ขาดประสบการณ์ ที่ปรึกษาทางธุรกิจช่วยได้ หลายคนทำธุรกิจแต่ยังไม่มีเป้าหมายชัดเจน ไม่รู้ว่าธุรกิจของเราจะเติบโตไปข้างหน้าด้วยวิธีไหน จึงต้องลองผิดลองถูก ทำให้เสียเวลาและมีต้นทุนสูงขึ้น ที่ปรึกษาปัญหาธุรกิจ ช่วยแนะนำช่วยหาทางออกให้ได้ ทำให้คุณประหยัดทั้งเวลาและต้นทุน ไม่ต้องเสียเวลาในการลองผิดลองถูก นอกจากนั้นยังช่วยลดความเครียดและความกังวลในการทำงานได้ ช่วยแก้ปัญหาบางอย่างที่คุณอาจมองข้ามรวมถึงช่วยทำให้ผลกำไรธุรกิจของคุณดีขึ้นอย่างแน่นอน

ที่ปรึกษาทางธุรกิจแบ่งออกเป็น 7 ประเภท

⦁ ที่ปรึกษาธุรกิจด้านการเงิน
⦁ ที่ปรึกษาธุรกิจด้านการตลาดและการขาย
⦁ ที่ปรึกษาธุรกิจด้านกลยุทธ์
⦁ ที่ปรึกษาธุรกิจด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล
⦁ ที่ปรึกษาธุรกิจด้านกฎหมาย
⦁ ที่ปรึกษาธุรกิจด้านเทคโนโลยี
⦁ ที่ปรึกษาการจัดการระบบในองค์กรที่เชื่อมโยงระบบการทำงานภายในทั้งหมด

คุณสมบัติที่ดีของที่ปรึกษาปัญหาทางธุรกิจ

1.ที่ปรึกษาปัญหาธุรกิจ จะต้องเป็นคนที่ชอบเรียนรู้หรือใฝ่เรียนเป็นคนที่มีการติดตามข่าวสารอยู่เสมอ ไม่ตกเทรนทั้งเรื่องเหตุบ้าน การเมือง ข่าวสารทั่วไปหรือข่าวต่างประเทศ มีลักษณะนิสัยชอบศึกษาชอบค้นคว้าหาข้อมูล
2.ที่ปรึกษาทางธุรกิจจะต้องมีการวิเคราะห์ที่ดี มีเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ที่ทันสมัย ข้อมูลถูกต้องสามารถวิเคราะห์และคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ
3.ที่ปรึกษาปัญหาทางธุรกิจจะต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีสามารถพูดคุย ติดต่อสื่อสาร หรือโน้มน้าวจิตใจได้ดีทำงานร่วมกันกับพนักงานได้ทุกระดับ รวมถึงจะต้องเป็นคนที่มีบุคลิกดีด้วย
4.คุณสมบัติที่สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือจะต้องเป็นคนที่มีการสื่อสารยอดเยี่ยมสามารถสื่อสารได้ชัดเจน เข้าใจง่ายสามารถสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้แนวคิดหรือสิ่งที่วิเคราะห์ออกมาได้
5.ที่ปรึกษาปัญหาทางด้านธุรกิจจะต้องมีความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยเช่นกัน ทั้งในด้านของการศึกษาหรือผลงานที่ผ่านมา
ที่ปรึกษาปัญหาธุรกิจ คือใคร ทำหน้าที่อย่างไรจำเป็นมากแค่ไหนและคุณสมบัติที่ดีมีอะไรบ้าง ทั้งหมดนี้คือสาระดีๆ ที่เราเอามาฝาก ในปัจจุบันการทำธุรกิจเต็มไปด้วยการแข่งขันสูง ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จแต่ถ้ามีที่ปรึกษาปัญหาทางธุรกิจที่ดี ธุรกิจก็มีโอกาสเติบโตได้ไม่ยาก

ทักษะ 5 อย่างที่เจ้าของธุรกิจต้องมี

ทักษะ 5 อย่างที่เจ้าของธุรกิจต้องมี

ทักษะ 5 อย่างที่เจ้าของธุรกิจต้องมี

1. ทักษะการขายและการตลาด
✅ การขายและการตลาดเป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับผู้ที่ทำธุรกิจในปัจจุบัน เพื่อสร้างศักยภาพในการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของตนเอง เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องมี “การสื่อสารที่ดี” เพื่อเชื่อมโยงกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถฟัง สื่อสารสิ่งที่บริษัทคุณมีได้อย่างเข้าใจง่าย และน่าสนใจ สามารถทำความเข้าใจปัญหาและความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งทักษะการขายจะนำไปสู่การเชื่อมโยงเพื่อทำการตลาดที่ดีอีกด้วย ในส่วนของการตลาดช่วยให้ธุรกิจสร้างความน่าเชื่อถือและความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ถ้าลูกค้ามีความเชื่อมั่นในธุรกิจของคุณ โอกาสที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อสินค้าหรือให้บริการอีกครั้งมีมากขึ้น นอกจากนี้การตลาดจะช่วยให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นและแตกต่าง มีความเป็นเอกลักษณ์ ลูกค้าจะเห็นคุณค่า ธุรกิจของคุณจะเหนือกว่าคู่แข่ง

ทักษะการขายและการตลาด

2. ทักษะการบัญชีและการเงิน
✅ ทักษะทางบัญชีเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการและบริหารการเงินขององค์กร เพราะการเข้าใจและการนำเอาข้อมูลทางบัญชีไปใช้ในการตัดสินใจที่ถูกต้อง จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถดำเนินกิจการได้อย่างปลอดภัยและประสบความสำเร็จ
ทักษะการบัญชีและการเงิน
3. ทักษะการจัดการภายในองค์กร
✅ การจัดการภายในองค์กร เป็นสิ่งที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืนและความสำเร็จขององค์กร ซึ่งมีส่วนประกอบหลายอย่าง เพื่อให้องค์กรดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
• การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
• การบริหารจัดการการเงิน
• การวางแผน (ทั้งในส่วนงานของผู้บริหารเจ้าของธุรกิจและพนักงานในทีม)
• การสร้างโครงสร้างอำนาจและการตัดสินใจภายในองค์กร
• การประชุมและการรายงานผล
เป็นต้น
ทักษะการจัดการภายในองค์กร
4. ทักษะความเป็นผู้นำ
✅ เจ้าของธุรกิจจำเป็นต้องมีทักษะความเป็นผู้นำ ต้องสามารถกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อให้มองเห็นอนาคตของธุรกิจได้อย่างชัดเจน ทำให้สมาชิกในองค์กรมีความเข้าใจและมีทิศทางในการทำงานอย่างเป็นระบบ
ความเป็นผู้นำจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสมาชิกในองค์กร โดยผู้นำจะต้องมีความรับผิดชอบในการดำเนินธุุรกิจอย่างเป็นธรรม และสามารถถ่ายทอดกำลังใจและแรงบันดาลใจให้กับสมาชิกในองค์กรได้ในทุกๆภาวะ
ทักษะการจัดการภายในองค์กร
5. ทักษะการลงทุนเพื่อการเติบโต
✅ การลงทุนเพื่อการเติบโตหมายถึงการจ่ายเงินหรือทำการในรูปแบบใดก็ตาม
เพื่อให้บริษัทหรือธุรกิจเจริญเติบโตไปในอนาคต
การลงทุนเพื่อการเติบโตสามารถเป็นได้ทั้งการลงทุนในการขยายกำลังผลิต
การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ การขยายสาขาธุรกิจ การวางแผนการตลาด
การปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ รวมถึงการลงทุนในเทคโนโลยีหรือการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสร้างความเติบโตและเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจในระยะยาว
ทักษะการลงทุนเพื่อการเติบโต

ภาพบรรยากาศการเรียนคอร์ส ยกระดับภาวะผู้นำ MC ENERGY INTERNATIONAL CO.,LTD

ภาพบรรยากาศการเรียนคอร์ส

ภาพบรรยากาศการเรียนคอร์ส ยกระดับภาวะผู้นำ
MC ENERGY INTERNATIONAL CO.,LTD

ภาพบรรยากาศการเรียนคอร์ส ภาพบรรยากาศการเรียนคอร์ส ภาพบรรยากาศการเรียนคอร์ส ภาพบรรยากาศการเรียนคอร์ส ภาพบรรยากาศการเรียนคอร์ส ภาพบรรยากาศการเรียนคอร์ส ภาพบรรยากาศการเรียนคอร์ส ภาพบรรยากาศการเรียนคอร์ส ภาพบรรยากาศการเรียนคอร์ส ภาพบรรยากาศการเรียนคอร์ส

ภาพบรรยากาศ การวางระบบแบบ “จับมือทำ” บริษัท TM.Tooling

ภาพบรรยากาศ การวางระบบแบบ "จับมือทำ" บริษัท TM.Tooling

ภาพบรรยากาศ การวางระบบแบบ “จับมือทำ”
ที่บริษัทที่จำหน่ายอะไหล่และเครื่องมือช่างทุกชนิดที่ใหญ่ที่สุดในสมุทรสาคร
TM.Tooling มีทุกสิ่งที่ช่างต้องการ

ภาพบรรยากาศ การวางระบบแบบ "จับมือทำ" บริษัท TM.Tooling ภาพบรรยากาศ การวางระบบแบบ "จับมือทำ" บริษัท TM.Tooling ภาพบรรยากาศ การวางระบบแบบ "จับมือทำ" บริษัท TM.Tooling ภาพบรรยากาศ การวางระบบแบบ "จับมือทำ" บริษัท TM.Tooling ภาพบรรยากาศ การวางระบบแบบ "จับมือทำ" บริษัท TM.Tooling ภาพบรรยากาศ การวางระบบแบบ "จับมือทำ" บริษัท TM.Tooling ภาพบรรยากาศ การวางระบบแบบ "จับมือทำ" บริษัท TM.Tooling ภาพบรรยากาศ การวางระบบแบบ "จับมือทำ" บริษัท TM.Tooling ภาพบรรยากาศ การวางระบบแบบ "จับมือทำ" บริษัท TM.Tooling ภาพบรรยากาศ การวางระบบแบบ "จับมือทำ" บริษัท TM.Tooling

ทักษะการขาย 7 อย่าง เพื่อเพิ่มยอดขาย

ทักษะการขาย 7 อย่าง เพื่อเพิ่มยอดขาย

ทักษะการขาย 7 อย่าง เพื่อเพิ่มยอดขาย มีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

  1. หากลุ่มเป้าหมาย
    นักขายควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการที่จะเข้าถึง เช่น กลุ่มอายุ, เพศ, อาชีพ หรือสถานะทางสังคม เพื่อการเสนอขายได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะสถานะทางสังคมจะเป็นตัวช่วยกำหนดราคาของสินค้าของคุณ นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายด้วย ต้องเข้าใจแต่ละกลุ่มเป้าหมายอย่างลึกซึ้ง และที่สำคัญคือต้องรู้ว่าทำไมผู้คนในกลุ่มเป้าหมยจึงกลายเป็นลูกค้า
  2. การสร้างความสัมพันธ์ 
    เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและยั่งยืนกับลูกค้า จะต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้า และความต้องการของลูกค้านำไปสู่การช่วยเหลือและการแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็ว และถูกต้อง
  3. รู้ปัญหาและความต้องการของลูกค้า 
    เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการ ช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
  4. นำเสนอทางออก 
    สถานการณ์เชิงลบหรือปัญหาที่เกิดขึ้นอาจทำให้ลูกค้าสับสนหรือไม่มั่นใจ
    การนำเสนอทางออกให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็ว และจริงใจจะช่วยทำให้ลูกค้ามั่นใจ ความเชื่อใจ และไว้วางใจ
  5. พร้อมรับมือกับข้อโต้แย้ง 
    การรับมือกับข้อโต้แย้งจะต้องทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของเราให้ดีที่สุด เพื่อให้สามารถตอบข้อโต้แย้งได้อย่างมั่นใจ รวมถึงจะต้องค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและมีความรู้เกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้อง เช่นการเปรียบเทียบราคาและคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการ
  6. สามารถปิดการขาย 
    การปิดการขายเช่น สรุปสิ่งที่ถูกพูดในระหว่างการขาย เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจและจดจำข้อมูลให้ได้ง่าย นักขายควรสรุปประโยชน์และคุณลักษณะสินค้าหรือบริการที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขาย
  7. พูดถึงข้อเสนอและราคา ควรแจ้งข้อเสนอและราคาให้ลูกค้าอย่างชัดเจน
    ให้ข้อมูลการรับประกัน เพื่อแสดงความเชื่อมั่นในสินค้าหรือบริการ โดยพูดถึงการรับประกันและบริการหลังการขาย

    รับใบเสนอราคา/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS

ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS

ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS
ในหัวข้อ “การวางระบบในองค์กร” โดยคุณท็อป สมชัย สุวรพันธ์ เติมข้อมูลกันไปถึง 4 ชั่วโมงเต็มๆ
อัดแน่นทั้งความรู้และประสบการณ์ ข้อมูลที่ได้รับสามารถนำไปใช้พัฒนาธุรกิจได้จริง

ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS ภาพบรรยากาศส่วนหนึ่งของ CEO IDOLS

6 ทักษะของผู้นำ เพื่อยกระดับในการสร้างทีม

6 ทักษะของผู้นำ เพื่อยกระดับในการสร้างทีม

6 ทักษะของผู้นำ เพื่อยกระดับในการสร้างทีม

1. ความสามารถที่จะมองเห็นจุดแข็งในตัวของสมาชิกในทีม
6 ทักษะของผู้นำ และทำให้เขาได้นำจุดแข็งนั้นมาใช้
เช่นความสามารถทางกายภาพความสามารถในทักษะของการคิดและมองภาพรวมทักษะการแบ่งประเภทหรือพฤติกรรมของเขาจากการทำแบบทดสอบ
2. ความสามารถในการสอน
คือการที่คุณสามารถสอนคนในทีมให้ประสบความสำเร็จได้ด้วยการที่เขาลงมือทำด้วยตัวเองและทำให้เขามีส่วนร่วมได้ฝึกซ้อมด้วยกัน ท้าทายให้เขาทำสร้างเป้าหมายและเดินไปด้วยกัน
3. ใช้ความผิดพลาดเพื่อสร้างพลังและความเข้มแข็งให้กับทีม
เทคนิคก็คือใช้วงจร PDCA วางแผนลงมือทำตรวจสอบ
เช่น สรุปเหตุการณ์ ฉลองชัยชนะเล็กๆเพื่อสร้างความมั่นใจ
ขอเวลานอกเพื่อปรับกลยุทธ์
ถอดรหัสข้อผิดพลาด
และเรียนรู้ พร้อมหาข้อแก้ไขปรับจูนไปตลอดเส้นทาง
จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย
4. กำหนดความถี่
ของการเฝ้าดูและติดตาม
รวมถึงการรักษาความถี่นั้นไว้
5. สามารถมองเห็นภาพในอนาคตที่สดใส
ต้องมีความเป็นไปได้
และถ่ายทอดภาพนั้นได้
ด้วยการเล่าเรื่องให้น่าสนใจ
6. ความสามารถในการขาย
ผู้นำต้องขายความมั่นใจ
ความเชื่อเกี่ยวกับ เป้าหมาย
ที่ต้องไปให้ถึง และมุมมองที่ไกลกว่าตัวเอง
เพื่อให้ทีมกล้าหาญพอ
ที่จะเข้ามาสนับสนุน
และสร้างให้สมาชิก
ได้มีความเชื่อมั่น
มีพลังและกำลังใจมากขึ้น
ร่วมสนับสนุนกันและกัน